LIFESTYLE

โดย กองบรรณาธิการ M2F

18 กันยายน 2562 : 15:00 น.

เภสัชกรชี้ยิ่งอายุมากขึ้น ปริมาณโคคิวเท็นในร่างกายจะยิ่งลดน้อยลง เป็นสาเหตุหลักของความเสื่อมถอยของเซลส์ในร่างกาย รวมทั้งเป็นสาเหตุหลักของริ้วรอยและความเหี่ยวย่น

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับ “โคคิวเท็น” มาบ้างแล้ว และเชื่อว่าการรับรู้ของหลายๆ คนถึงประโยชน์ของโคคิวเท็น คงหนีไม่พ้นเรื่องของการช่วยลดความหย่อนคล้อยของผิวหนังในผู้ที่เริ่มสูงวัย ไม่ว่าจะสารเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้า ผิวกาย รวมไปถึงเครื่องดื่มอาหารเสริมที่จะต้องระบุว่ามีส่วนผสมของ “โคคิวเท็น” อยู่ด้วยเสมอ จนโคคิวเท็นกลายเป็นสัญลักษณ์สิ่งที่ช่วยชะลอวัย

โคคิวเท็นคืออะไร?

โคคิวเท็น (CoQ10) เป็นสารอาหารธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเพื่อเป็นตัวร่วมในการสร้างพลังงานภายในไมโตครอนเดรีย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ “เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย” โคคิวเท็นจะพบมากในเซลล์หรืออวัยวะที่ใช้พลังงานมาก เช่น หัวใจ ไต ปอด ตับ

โคคิวเท็น มี 2 รูปแบบคือ ยูบิควิโนน โคคิวเท็น (Ubiquinone CoQ10) คือ รูปแบบที่ไม่พร้อมใช้งาน (Inactive form) และ ยูบิควินอล โคคิวเท็น (Ubiquinol CoQ10) คือ รูปแบบที่พร้อมใช้งาน (Active form) ซึ่ง เป็นรูปแบบหลักของโคคิวเท็นที่ร่างกายต้องการ

ทำไมร่างกายต้องมียูบิควินอล โคคิวเท็น

ทีมเภสัชกรบริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์คุณภาพชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล่าวว่า ยูบิควินอล โคคิวเท็น เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่

๏ ประโยชน์ต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลส์กล้ามเนื้อหัวใจให้มีความแข็งแรง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น และป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

๏ เพิ่มพลังงานให้กับเซลส์ ช่วยให้เซลส์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเซลส์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น หัวใจ ผิวหนัง ไต ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงมากขึ้น

๏ ชะลอวัย (Anti-aging) ช่วยปกป้องทุกเซลส์ของร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะเสื่อมถอยของเซลส์ในร่างกาย

๏ ดีต่อผิวหนัง ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลส์ผิว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งกระจ่างสดใส

๏ ลดผลข้างเคียงจากยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ช่วยลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor โดยอาการข้างเคียงที่พบคือการอักเสบเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุที่ทำให้โคคิวเท็นลดลง

โดยปกติแล้ว ยูบิควินอล โคคิวเท็น จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากเรื่องอายุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการลดลงของโคคิวเท็นอีกด้วย ได้แก่ ภาวะความเครียด การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอ หรือไม่ครบ 5 หมู่ ความสามารถในการดูดซึมของร่างกายลดลง การรับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดกลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ที่ไม่ได้ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้โคคิวเท็นลดลงอีกด้วย

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโคคิวเท็นลดลง

หากโคคิวเท็นในร่างกายลดลง อาการเริ่มแรกที่จะสังเกตได้ก่อนคืออ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีแรง เป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือก กระบวนการคิดช้าลง รวมถึงอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อ่อนแรง เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ แต่หากขาดโคคิวเท็นในปริมาณที่รุนแรงมาก อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ประสิทธิภาพในการมองเห็นหรือได้ยินลดลง รวมทั้งอาจเกิดภาวะไตวายได้

เคล็ดลับการเพิ่มโคคิวเท็นให้ร่างกาย

ทีมเภสัชกรบริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโคคิวเท็นให้กับร่างกายว่า โดยปกติแล้วร่างกายจะได้รับโคคิวเท็นจากการรับประทานอาหารอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภท เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ รวมถึงในผลิตภัณฑ์จำพวกถั่ว ธัญพืช และผักต่าง ๆ แต่เราจำเป็นต้องทานอาหารดังกล่าวในปริมาณที่มากเป็นกิโลกรัมถึงจะได้โคคิวเท็นเท่ากับ 100 มิลลิกรัม ประกอบกับจะมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็คือ ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโคคิวเท็นที่มาจากอาหารเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้นั้นน้อยลงมาก ดังนั้น วิธีที่สะดวกและได้ผลมากที่สุดคือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำพวกโคคิวเท็นอย่างน้อยวันละ 30 มิลลิกรัม ก็น่าจะตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโคคิวเท็นให้กับร่างกายแล้ว

ENTERTAIN

อ่านก่อนเลือกเงินกู้ออนไลน์ เลือกผิด ชีวิตพังแน่!

ในวันที่เศรษฐกิจถดถอยนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ทำให้หลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินและสถานการณ์ชักหน้าไม่ถึงหลัง

แนะนำเครื่องกรองน้ำระบบฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ อัปเดต 2022

เราทุกคนรู้กันดีว่าการดื่มน้ำนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ดื่มน้ำสะอาดในทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และดีต่อสุขภาพ

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

ข่าวที่น่าสนใจ