Page 3 - M2F - 10 เมษายน พ.ศ. 2561
P. 3
NEWS UPDATE 3
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561
บเป็นการค้นพบครั้งสำาคัญใน
นัประวัติศาสตร์โลกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ
นักโบราณคดีขุดพบโครงสร้างโบราณสถานที่
คาดว่าน่าจะเคยเป็นพระราชวังของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้ก่อตั้งอาณาจักรเขมร
โบราณภายในอุทยานแห่งชาติพนมกุเลน
ในเมืองเสียมเรียบ ซึ่งอาจนำาไปสู่การขอ พบพระราชวัง
ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกโลกขององค์การ
ยูเนสโก
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์รายงานว่า
ทีมนักโบราณคดีซึ่งนำาโดย ฌอง บับติสต์ ผู้สร้างอาณาจักรเขมร
เชอวองซ์ หัวหน้ามูลนิธิโบราณคดีและการ
พัฒนาในกรุงลอนดอน ร่วมกับองค์การ
อัปสรา ซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลนครวัดของ
กัมพูชา ค้นพบสถานที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2009
จากนั้นในปี 2012 ได้ใช้เทคโนโลยี LIDAR
ซึ่งใช้ในการสำารวจภูมิประเทศที่สำารวจ
สิ่งก่อสร้างใต้พื้นดินได้แม้จะมีต้นไม้ขึ้น
ปกคลุม ทำาให้เห็นโครงสร้างที่มีความยิ่งใหญ่
รวมทั้งรูปร่างและตำาแหน่งที่ตั้ง ทำาให้
นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระราชวัง แม้จะไม่มี
ศิลาจารึกพูดถึงก็ตาม
นอกจากนี้ จากการตรวจหาอายุจาก
คาร์บอนกัมมันตรังสียังพบว่า สิ่งก่อสร้างนี้
ถูกทิ้งร้างในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 ซึ่ง
สอดคล้องกับหลักศิลาจารึกที่ระบุว่า พระเจ้า
ชัยวรมันที่ 2 ทรงสร้างเมืองหลวงแถบ
พนมกุเลนในช่วงปลายศตวรรษที่ 8 ถึง
ต้นศตวรรษที่ 9 หลังจากทรงรวบรวม
อาณาจักรเขมรให้เป็นหนึ่งเดียวและขึ้นเป็น
กษัตริย์ปกครอง ทำาให้เชอวองซ์เชื่อว่า
พระราชวังนี้เป็นของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 จน
นำามาสู่การขุดค้นเมื่อ 5 สัปดาห์ที่แล้ว
ทีมนักโบราณคดี 60 คน ได้ลงมือ
ขุดสำารวจพื้นที่ขนาด 400x600 ม.ภายใน
อุทยานแห่งชาติพนมกุเลน ในจุดที่เชื่อว่าเป็น
พระราชวังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ล้อมรอบไปด้วย
กำาแพงและทางเดินที่หันไปด้านตะวันออกซึ่ง
มีการจัดสร้างอย่างดี และพบโบราณวัตถุ เช่น
เซรามิก หม้อ ภายใน แต่ทีมสำารวจยังไม่ทราบ
ว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกใช้ประโยชน์อย่างไร
อย่างไรก็ดี นักโบราณคดีจากองค์การ
อัปสราเผยว่า ยังไม่สามารถยืนยันได้ 100%
ว่าโครงสร้างที่พบเป็นพระราชวังจริงหรือไม่
ขณะที่เฟซบุ๊คของกระทรวงสิ่งแวดล้อม
กัมพูชา ระบุว่า การค้นพบครั้งสำาคัญนี้อาจ
นำาไปสู่การขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติ
พนมกุเลนเป็นพื้นที่มรดกโลกขององค์การ
ยูเนสโก ที่ปัจจุบันอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
เพื่อรอการขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ครองราชย์
ระหว่างปี ค.ศ. 770-835 ทรงขยายดินแดน
ของชาวเขมรโบราณจนครอบคลุมพื้นที่
ปัจจุบันของกัมพูชาส่วนใหญ่ของประเทศไทย
และบางส่วนของลาวและเวียดนาม จนกลาย
เป็นอาณาจักรโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้