Page 14 - M2F - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
P. 14
14 WORK & LIFE วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ไอชานแธคเกอร์
จัดออฟฟิศแบบไหนถูกใจมิลเลนเนียล
วยความที่ Co-working Space (โคเวิร์คกิ้งสเปซ) หรือพื้นที่ทำางานร่วมกันที่มี
ด้ให้เลือกหลากหลาย เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำางานจากที่ใดก็ได้ไม่จำาเป็นต้อง
เป็นออฟฟิศ รวมทั้งแนวคิดแบบไม่ยึดติดของคนในยุคมิลเลนเนียล (Millennial เกิด
ช่วงปี 80) และเจนซี (Generation Z เกิดช่วงปี 1995) ทำาให้หลายบริษัทประสบ
ปัญหาในการรับสมัครและรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้ เพราะสองเจเนอเรชั่นนี้มักจะ
เปลี่ยนงานบ่อยหรือบางคนหันไปทำางานฟรีแลนซ์ซึ่งมีอิสระมากกว่าแทน
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีออฟฟิศเจ๋งๆ ที่ตรึงคนกลุ่มนี้ไว้ได้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น
ออฟฟิศของกูเกิลที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ทำางานที่พนักงานมีความสุขที่สุดในโลก
เพราะเมื่อก้าวย่างเข้าไปแล้วให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสวนสนุกและพื้นที่ปลดปล่อย
ไอเดียมากกว่าที่ทำางานที่เคร่งขรึม
ไอชาน แธคเกอร์ รองประธาน Vector Projects บริษัทตกแต่งภายในของอินเดีย
เผยว่า แม้มิลเลนเนียลและเจนซีจะเป็นคนละเจเนอเรชั่นกัน แต่สิ่งที่คนกลุ่มนี้
ต้องการเหมือนกันคือ ออฟฟิศเจ๋งๆ ที่เป็นมากกว่าแค่สถานที่ทำางาน ไม่ว่าจะเป็น
เทคโนโลยีต้องพร้อม คนในยุคเจนซีนั้นแทบจะเรียกได้ว่ามีเทคโนโลยีอยู่ใน
สายเลือด นอกจากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่สำาคัญสำาหรับคนรุ่นใหม่ที่ทำาอะไรได้
หลายอย่างในเวลาเดียวกันแล้ว การเพิ่มเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented
Reality) ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) หรืออินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoTs)
เข้ามาในพื้นที่ออฟฟิศก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ล้ำาๆ ตามที่คนเจนนี้ชอบ
ยืดหยุ่น คนยุคมิลเลนเนียลและเจนซีไม่ชอบนั่งติดกับโต๊ะทำางานทั้งวัน หรือต้อง
นั่งอยู่ในบล็อกสี่เหลี่ยมแคบๆ ออฟฟิศยุคใหม่อาจจะไม่ต้องมีโต๊ะประจำา เพียงแต่
ต้องจัดโต๊ะเล็กๆ ไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อให้คนในแผนกต่างๆ ที่อาจไม่เคยเห็นหน้ากัน
ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพนักงาน
ด้วยกัน
พื้นที่ส่วนตัว แม้คนรุ่นใหม่จะต้องการพื้นที่ส่วนรวม แต่พื้นที่ส่วนตัวในที่ทำางานก็ขาดไม่ได้
ฉีกกรอบ คนสองเจนนี้มักชอบการออกแบบที่ค่อนข้างแหวกแนว ไม่ซ้ำาใครเพื่อสร้างความ
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้บริหารต้องยอมรับว่าหมดยุคของโทนสีเคร่งขรึมในออฟฟิศแบบ
ดั้งเดิมแล้ว หากดึงดูดมิลเลนเนียลจะต้องใช้สีที่สดใส มีชีวิตชีวา รวมทั้งการสร้าง
สิ่งแวดล้อมที่ลดความเป็นทางการ เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สมมาตร บอร์ดเกม เบาะนั่งหรือ
Bean Bag ที่ปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ตามสรีระและท่าทางของคนนั่ง
ผสานธรรมชาติ แธคเกอร์ แนะนำาให้สร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ทั้งภายใน
ภายนอกอาคาร รวมถึงสวนแนวตั้ง และการออกแบบให้หน้าต่างเปิดรับแสงสว่างจาก
ภายนอก เพื่อให้คนทำางานเกิดความรู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติ
SUCCESS เปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะกับคนทำ งาน (Ergonomics) คนยุคมิลเลนเนียลและเจนซีมี
F RMULA แนวคิดว่าที่ทำางานจะต้องสอดรับกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขามากกว่าที่พวกเขาจะต้องปรับตัว
เองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในที่ทำางาน ดังนั้น ศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับคน
จึงมีส่วนสำาคัญอย่างยิ่งในการออกแบบออฟฟิศ ซึ่ง แธคเกอร์ มองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เมื่อเทียบกับการรักษาคนรุ่นใหม่ไว้ในองค์กร
การออกแบบสถานที่ทำางานที่ดีและสภาพแวดล้อมการทำางานนั้นส่งผลโดยตรงต่อความ
พึงพอใจของพนักงาน ออฟฟิศในอนาคตจึงไม่เพียงแต่ต้องแข่งขันกันเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
มีภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้น แต่ยังต้องแข่งขันกันดึงดูดและรักษาพนักงานเก่งๆ ในแง่ของการ
มีพื้นที่สำาหรับกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน