LIFESTYLE

06 ตุลาคม 2565 : 17:07 น.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (รอบการประเมินปีการศึกษา 2564)

ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานธุรกิจของผู้เรียนอาชีวศึกษา การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของศูนย์บ่มเพราะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในรูปแบบนิทรรศการเปิด โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติแก่สถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดดเด่นที่สุด ระดับ 5 จำนวน 20 แห่ง และสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดดเด่นที่สุด ระดับ 4 จำนวน 37 แห่ง รวมทั้งสิ้น 57 แห่ง ซึ่งมีเรืออากาศโท สมพร ปานดำ  รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะ ให้การต้อนรับนำชมผลงาน ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

นางสาวตรีนุช เทียนทอง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สอศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนในสายอาชีพ ให้มุ่งเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่นักศึกษาโดยเน้นการฝึกประกอบอาชีพจริงตามบริบทในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดย สอศ. ได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีความรู้ทางด้านการจัดการธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ ตามสาขาวิชาชีพและนำมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ผ่านการดำเนินงานของ “ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา” ในทุกสถานศึกษาอาชีวศึกษา รวมถึงการเชื่อมโยงการทำงานกับ “ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ” และหน่วยงานเครือข่ายอื่น ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งตนมองว่า การศึกษาสายอาชีพในปัจจุบันต้องสร้างให้นักศึกษาทำงานได้จริงหรือสร้างอาชีพได้ และจากผลงานการประกวดในวันนี้มีหลายทีมที่โดดเด่นและสามารถต่อยอดไปสู่ระดับชาติได้

ด้าน เรืออากาศโท สมพร ปานดำ  รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สอศ. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนด้านวิชาชีพและด้านการเป็นผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการส่งเสริมกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจและมีความพร้อมให้ได้รับการพัฒนาความรู้ในเชิงลึกด้านธุรกิจ ผ่านกระบวนการอบรม และการทดลองทำธุรกิจภายใต้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งองค์ความรู้ทางธุรกิจจะสามารถช่วยให้รับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ตลอดจนเป็นแนวทางในการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น โดยได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ภาครัฐทุกแห่ง เพื่อเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์และมีที่ปรึกษาด้านธุรกิจแก่ผู้เรียน ผู้เรียนได้ทำธุรกิจทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาทุกปี ภายใต้กระบวนการประเมินตามเครื่องมือและตัวชี้วัดการประเมินที่ สอศ. กำหนด โดยแบ่งการประเมินอออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่  ระดับจังหวัด  ระดับภาค  และระดับชาติ ซึ่งกระบวนการสร้างผู้ประกอบการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรในรายวิชาการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติในการเป็นผู้ประกอบการให้แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา และการสร้างเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา โดยมุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจและการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพจากหลักสูตร สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และทดลองดำเนินธุรกิจจริงในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้กระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำจากครูที่ปรึกษาธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจ รวมทั้งมีการรวบรวมและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ rproduct.net เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของผู้เรียนอาชีวศึกษาอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาทุกแห่งเพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานในระดับสถานศึกษาระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ พร้อมทั้งมีการเสริมแรงให้กับสถานศึกษาที่สามารถดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดต่อไป นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดธุรกิจที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา ภายใต้กิจกรรมโครงการอาชีวะสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ หรือ RRR Awards “Reach the Dream, Ready for Business, Rcheewa Sangsan” เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนนักศึกษาก้าวไปเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ประสบความสำเร็จและนำแผนธุรกิจไปต่อยอดเป็นแนวทางในการทำเป็นธุรกิจของตนเองได้ต่อไปในอนาคต

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปอีกว่า โดยสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาโดดเด่นที่สุด หรือ ระดับ 5 ดาว มีจำนวน 20 แห่ง ได้แก่ 1.ธุรกิจฟู้ดเฟื่องฟ้า ออนไลน์. วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น 2.หน่อไม้เส้นตากแห้งพร้อมผงปรุงรส ( Sun-dried Bamboo Shoot) วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 3.พอเพียง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร 4.น้ำพริกอัญชันคั่วแห้ง วิทยาลัยเทคนิครัตนบุรี 5.ไรท์หรีด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ 6.Handy Cute วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี 7.Proud Shampoo  วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี 8.บ้านสวนSahaphon Cactus วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 9.Chawa วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา 10. Sees Travel and Tour วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล2 11.ลาบปูซี๊ด วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี12.เครื่องประดับผสมดินปั้นจากเปลือกหอยแครง  13.ศิลปะประยุกต์ภาพพระปดบฏประดับฝาผนัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอี่ยมละออ14.อินทนิลจันท์ วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี15.

ร้อยล้านไม้เสียบ วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา16.น้ำพริกตะไคร้ปลากะตัก วิทยาลัยเทคนิคสัตหับ17.R Roma เจลหอมปรับอากาศ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง18.ศรีคราม จานรองแก้วดูดน้ำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี19.ผงโรยข้าวไตปลาเห็ดแครง วิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร20.ไก่จิ๋ว3 รส วิทยาลัยการอาชีพเบตง จังหวัดยะลา

ENTERTAIN

อ่านก่อนเลือกเงินกู้ออนไลน์ เลือกผิด ชีวิตพังแน่!

ในวันที่เศรษฐกิจถดถอยนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ทำให้หลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินและสถานการณ์ชักหน้าไม่ถึงหลัง

แนะนำเครื่องกรองน้ำระบบฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ อัปเดต 2022

เราทุกคนรู้กันดีว่าการดื่มน้ำนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ดื่มน้ำสะอาดในทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และดีต่อสุขภาพ

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

ข่าวที่น่าสนใจ