BKK NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

14 ตุลาคม 2564 : 17:36 น.

ผู้ว่าฯ กทม.เตรียม 5 แผนหลักรับมือพายุโซนร้อน "คมปาซุ"ถล่มกรุงทั้งเจ้าหน้าที่ ด้านระบายน้ำ การประสานงานระหว่างหน่วยงานและรายงานสถานการณ์ให้ประชาชนทราบ 24 ชม. เมื่อวันที่ 14 ต.ค.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝน

เมื่อวันที่ 14 ต.ค.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักที่อาจะเกิดจากพายุโซนร้อน “คมปาซุ” ของกทม. ว่า ได้เตรียมความพร้อมแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1.ด้านความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศแบบจำลองเส้นทางพายุ จากกรมอุตุนิยมวิทยา การตรวจสอบกลุ่มฝนด้วยเรดาร์ ความพร้อมของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเร่งด่วนเคลื่อนที่ (BEST) เข้าพื้นที่ขณะที่มีฝนเริ่มตก โดยการตรวจสอบเร่งระบายน้ำในจุดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่จุดเสี่ยง จุดเฝ้าระวังรวมถึงบริเวณทางอุโมงค์ทางลอดต่างๆ พร้อมทั้งการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม มีเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ

2.ด้านความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ ขุดลอกท่อระบายน้ำคูคลอง เปิดทางน้ำไหล จัดเก็บขยะวัชพืช ลดระดับน้ำในคูคลอง บ่อสูบน้ำและแก้มลิงให้อยู่ในระดับต่ำตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม อุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง สถานีสูบน้ำ 190 แห่ง บ่อสูบน้ำ 329 แห่งและประตูระบายน้ำ 243 แห่ง 3.ด้านความพร้อมด้านเครื่องจักร เพื่อรองรับสถานการณ์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองประจำสถานีสูบน้ำกรณีไฟฟ้าขัดข้อง เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ (โมบายยูนิต) รถเครน รถบรรทุกติดตั้งเครนยกไฮโดรลิค บอลลูนไลท์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ในการติดตั้งและตรวจสอบแก้ไขเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และการจัดเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอสำหรับเครื่องสูบน้ำและเครื่องจักรกลที่ติดตั้งใช้งานในพื้นที่จุดเสี่ยงและจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม

4.ด้านการประสานงานหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขัง ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ แผนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติป้องกันและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือแผนเผชิญเหตุ CPX ร่วมกัน ประสานงานการแก้ไขปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ อาทิ โครงการระบบระบายน้ำแนวถนนวิภาวดีตั้งแต่แยกดินแดงถึงฐานทัพอากาศ และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ (รฟม.) ประสานงานขอการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีฝนตกหนักและมีน้ำท่วมขังระดับสูง เช่น ตำรวจเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกการจราจร การปิดเส้นทางจราจรที่มีน้ำท่วม ทหารเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนหากมีระดับน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถใช้เส้นทางผ่านได้ นอกจากนี้ยังได้การประสานความร่วมมือกับ 6 จังหวัดปริมณฑล และกรมชลประทาน บูรณาการความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กรุงเทพมหานครจัดตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยมี ผอ.เขต เป็นผู้บัญชาเหตุการณ์

5.ด้านการประชาสัมพันธ์ การรายงานสถานการณ์ฝนในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยผ่านช่องทาง ที่ http://dds.bangkok.go.th/  ,www.prbangkok.com   ,Facebook:@BKK_BEST, สำนักงานประชาสัมพันธ์ Twitter:@BKK_BEST, สำนักงานประชาสัมพันธ์และแอปพลิเคชัน กทม. Connect หรือแจ้งปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมได้ที่ ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม โทร.022485115 และสายด่วน 1555 ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ