MONEY

โดย กองบรรณาธิการ M2F

07 กันยายน 2563 : 16:06 น.

.

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในทุกอุตสาหกรรม แม้แต่อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบเช่น โดยมีการคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตรถยนต์ในปีนี้จะหดตัวลงประมาณ 21-25% นับว่าต่ำที่สุดในรอบกว่า 9 ปี แม้แต่กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ถึงขั้นมีการ

คาดการณ์จาก world bank ว่าสถานการณ์ของประเทศไทยจะกลับมาดั่งเดิมได้ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี อีกสิ่งที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้การเติบโตของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตได้ดี คือต้องอาศัยมาตรการจากภาครัฐเข้าสนับสนุน จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าเเห่งชาติ กำหนดเป้าหมายว่าภายในปี 2573 ประเทศไทยต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด

หากมองย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อนคนมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันเราเห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งกันมากขึ้น มีการคาดการณ์ที่จะสร้างให้อุตสาหกรรมไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลกต่อไป แต่เมื่อเจอกับโควิด-19 ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องปรับตัวเองเช่นกัน หลังโควิด-19 สถานการณ์รถยนต์ไฟฟ้าของไทยจะเป็นอย่างไร งาน Startup Thailand x Innovation Thailand Expo 2020 มีคำตอบให้ การจะเกิดของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกต้องได้รับการสนับสนุนทั้งดีมานด์และซัพพลาย

สำหรับในประเทศไทยนั้นเมื่อปีที่ผ่านมาทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้นำเสนอ 8 ข้อแเนะเเนวทางการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าไทยกับหลายหน่วยงานของภาครัฐซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี

นายกฤษฎา อุตตโมทย์ ในฐานะนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้ส่งข้อเสนอจัดทำเเผนส่งเสริมการใช้รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เเละกระตุ้นให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนมากขึ้น ปรากฎการณ์อีกหนึ่งสิ่งที่เริ่มมองเห็นว่าภาครัฐให้การสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น คือการให้หน่วยงานภาครัฐหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยมีการให้ทางสมาคมเข้าไปช่วยกำหนดข้อมูลครุภัณฑ์ หากภาครัฐให้การสนับสนุนมากขึ้นก็น่าจะช่วยฟื้นตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้มาก มีการคาดการณ์ว่าหลังโควิด-19 การเกิดของยานยนต์ไฟฟ้าจะเร็วยิ่งขึ้น เพราะค่ายรถยนต์ต่างมีเทคโนโลยีมีการวางแผนสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ไว้แล้ว และระบบสาธารณูปโภคในไทยที่รองรับยานยนต์ไฟฟ้าก็มีเพิ่มมากขึ้นแล้ว

รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็มองไม่แตกต่างกัน เพราะก่อนเกิด Covid-19 มีการประชุมกับภาครัฐในเรื่องที่จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% จากปริมาณการผลิตรถยนต์แต่ต้องชะงักไป จากการประชุมมีการมองรถ 3 อันดับแรกที่ต้องการผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า คือ รถบัส รถบรรทุก และจักรยานยนต์ ซึ่งแนวโน้มน่าจะผลิตรถจักรยานยนต์รับจ้างไฟฟ้า แต่ไม่ว่าจะเป็นรถอะไรก็ตามหากตลาดมีมากพอเชื่อว่าผู้ประกอบการพร้อมผลิต

นอกจากความต้องการของตลาดจะช่วยกระตุ้นให้ยานยนต์ไฟฟ้าได้เกิดแล้ว นายสรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ อุปนายกฯ ฝ่ายอุตสาหกรรม, สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยและรองประธานสายงานวางแผนองค์กรและกลยุทธ์การตลาดและขาย บริษัท นิสสันมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อยากให้มองไปถึงต้นทุนและพฤติกรรมของผู้บริโภคก็มีความสำคัญที่ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึง เชื่อว่าในอนาคตจะมียานยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นมาก เพราะหลายบริษัททำเรื่องนี้อยู่แล้ว การเกิดของยานยนต์ไฟฟ้าในไทยจะเป็นจริงได้หรือไม่ ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการออกกฎหมายหรือการสนับสนุนในเรื่องการลดหย่อนต่างๆ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐต้องพร้อมสำหรับการให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ