THAI NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

20 ธันวาคม 2563 : 21:57 น.

TIJ เดินหน้าพัฒนาคุณภาพผู้ต้องขังหญิง ผลักดันโครงการ “ Every Steps Together: ก้าวที่ไม่โดดเดี่ยว” ระดมคสร้างชีวิตใหม่ปิดทางการกระทำผิดซ้ำแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำอย่างยั่งยืน

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดเวทีเสนอนวัตกรรมทางความคิดเพื่อสร้างกลไกความช่วยเหลือผู้ก้าวพลาด ย้ำการให้ "โอกาส" จากสังคมคือสิ่งสำคัญที่สุด เปิดมิติใหม่ฝึกอาชีพให้ผู้ก้าวพลาดสู่โลกดิจิทัล ให้ก้าวทันโลกยุคใหม่พร้อมทำงาน-ประกอบอาขีพเลี้ยงดูตัวเอง/ครอบครัวได้ โดย ปี 2563 ถือเป็นการครบรอบ 10 ปี การรับรองข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสหประชาชาติที่ผลักดันโดยประเทศไทย เพื่อมุ่งยกระดับมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและผู้กระทำผิดหญิง ให้มีความเหมาะสมด้านเพศสภาพ โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาTIJ หน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ มีส่วนสำคัญในการร่วมกันผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรร

ทั้งนี้ สถานการณ์ล่าสุด เรือนจำในประเทศไทยมีปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ เพราะมีการกระทำผิดซ้ำสูงมาก โดยประเทศไทยมีผู้ต้องขังทั่วประเทศกว่า 348,809 คน (ตุลาคม 2563) โดยในแต่ละปีจะมีผู้พ้นโทษออกมากว่า 200,000 คน แต่ภายใน 1 ปีแรกของการพ้นโทษ กว่า 15% หรือ 30,000 คน จะกระทำผิดซ้ำทันที และภายในปีที่ 3 หลังการพ้นโทษ ยอดผู้กระทำผิดซ้ำรวมจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 32% หรือ 64,000 คน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน TIJ จีงได้ผลักดันโครงการ “Every Step Together ก้าวที่ไม่โดดเดี่ยว” ด้วยการสร้าง “ระบบนิเวศธุรกิจ” ที่จะส่งเสริมให้ผู้ต้องขัง และอดีตผู้ต้องขังหญิงสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ เพื่อที่จะมีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ โดยแบ่งเป็น 1.การส่งเสริมอดีตผู้ต้องขังหญิงสู่ตลาดแรงงานภายในระบบ ด้วย การฝึกอบรม (Training) อาชีพที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน 2. การส่งเสริมให้เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดจิ๋ว (Micro entrepreneurship) โดยเชื่อมโยงกับ platform onlineต่างๆ โดยปัจจุบันมีองค์กรรัฐและเอกชนกว่า 30 แห่งประกาศเจตนารมย์เข้าร่วมเพื่อสนับสนุนโครงการนี้อย่างเต็มที่

ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กล่าวว่า ทาง TIJ ต้องการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในเรือนจำ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังในการกลับสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ เพราะเรือนจำควรเป็น “พื้นที่สร้างโอกาส” ให้คนนับหนึ่งใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเข้าใจร่วมกัน โดยเฉพาะในการให้โอกาสในการทำงานเลี้ยงชีพและครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พ้นโทษต้องการมากที่สุด และคนที่จะให้ได้คือ คนในสังคมนั่นเอง เพราะเรื่อง “ความยุติธรรมเป็นเรื่องของคนทุกคน” ( Justice is everyone matter )และคนทุกคนคือทรัพยากร “เราสามารถเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง” สร้างสังคมที่มีความปลอดภัยอยู่ร่วมกันได้

ด้าน ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การให้โอกาสผู้พ้นโทษเป็นสิ่งที่สังคมต้องเรียนรู้และร่วมมือกัน เราทุกคนต้องร่วมสร้างต้นทุนชีวิตให้แก่ผู้พ้นโทษ ให้เขารู้สึกมีความภาคภูมิใจในตัวเอง มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ภูมิใจในหน้าที่การงาน และที่สำคัญคือให้เขารู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความหมาย เพื่อที่เขาจะไม่เลือกทางที่ผิดพลาดอีก โดยคนในสังคมต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ไม่ใช่จำแต่อดีตที่ไม่ดีของเขา เราต้องร่วมสร้างโอกาสให้ผู้พ้นโทษเหล่านี้กลับมายืนใหม่ให้ได้

ขณะที่ ด้านนายจรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab บริษัทเซอร์ทิส กล่าวว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลมีซึ่งงานจำนวนมากสามารถทำผ่านออนไลน์และทำงานอยู่เบื้องหลังและทำได้ทุกที่ โดยเฉพาะการฝึก AI ในการประมวลผลทางภาษาให้เป็นธรรมชาติ (Natural Language Processing :NLP) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พ้นโทษทำได้ เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ทุกคนมีและเป็นจุดแข็งที่เหนือกว่า AI คือ เรื่อง การสื่อสาร การมีความคิดสร้างสรรค์ และการมีความเห็นอกเห็นใจ เราต้องใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ซึ่งผู้ก้าวพลาดและผู้พ้นโทษสามารถทำงานการเรื่องการแยกแยะภาษาและอารมณ์ข้อมูล (Label Data) ได้  

ข่าวเด่น

ข่าวทั่วไทย

ข่าวที่น่าสนใจ