THAI NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

24 ตุลาคม 2564 : 12:19 น.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาพรวม 17 จังหวัดยังได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วมขัง แต่ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว

เมื่อวันที่ 24 ต.ค.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม 17 จังหวัด จากอิทธิพลความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตั้งแต่วันที่ 21 – 24 ต.ค เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย ขอนแก่น กาญจนบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี) รวม 27 อำเภอ 59 ตำบล 350 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,159 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 1 จังหวัด คือจ.กาญจนบุรี ในพื้นที่รวม 4 อำเภอ ได้แก่ บ่อพลอย ท่าม่วง หนองปรือ และท่ามะกา ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว

ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 ต.ค. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระแก้ว ชลบุรี สมุทรปราการ นครปฐม และกาญจนบุรี รวม 46 อำเภอ 166 ตำบล 742 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,499 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด รวม 27 อำเภอ 121 ตำบล 608 หมู่บ้าน 11,026 ครัวเรือน ดังนี้ 

1.ชัยภูมิ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอคอนสาร อำเภอบ้านเขว้า อำเภอภูเขียว อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอจัตุรัส รวม 9 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ  732 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

2.นครราชสีมา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อำเภอสีคิ้ว อำเภอพิมาย อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอคง อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเมืองยาง อำเภอประทาย  และอำเภอโนนไทย รวม 55 ตำบล 270 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,933 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

3.บุรีรัมย์ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนางรอง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รวม 10 ตำบล 18 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

4.ศรีสะเกษ น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขุขันธ์  อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอปรางค์กู่ และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 10 ตำบล 19 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 329 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

5.นครปฐม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ บางเลน อำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน รวม 39 ตำบล 265 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,992 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

6.สระแก้ว น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

สำหรับ อิทธิพลพายุ “คมปาซุ” เมื่อวันที่ 15 -17 ต.ค. 64 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ลพบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก รวม 12 อำเภอ 33 ตำบล 112 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,326 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 2 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี  และปราจีนบุรี รวม 5 อำเภอ 9 ตำบล 28 หมู่บ้าน 407 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลงในทุกพื้นที่

สำหรับผลกระทบจากพายุ “เตี้ยนหมู่” เมื่อวันที่ 23 ก.ย. - 7 ต.ค. 2564 ทำให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 33 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม รวม 226 อำเภอ 1,206 ตำบล 8,265 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 339,346 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 17 ราย (ลพบุรี 11 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย ชัยนาท 1 ราย นครสวรรค์ 3 ราย) ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 27 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด รวม 23 อำเภอ 214 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน 67,290 ครัวเรือน ดังนี้

1.มหาสารคาม น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคามรวม 12 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,627 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

2.สุพรรณบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 20ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ  2,011 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลลง

3.สิงห์บุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรีรวม 10 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,149 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

4.อ่างทอง ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ รวม 36 ตำบล 106 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,434 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

5.พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมขังในในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล

อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอมหาราช อำเภอบางปะหัน และอำเภอบางซ้าย รวม 115 ตำบล 681 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 46,749 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

6.ปทุมธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,301 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาพรวมสถานการณ์คลี่คลายในหลายพื้นที่แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่งซึ่งเกิดจากฝนตกต่อเนื่องและการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำ ทำให้เกิดน้ำในลำน้ำล้นตลิ่ง ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 ต.ค. 64  ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุทัยธานี และฉะเชิงเทรา รวม 6 อำเภอ 19 ตำบล 100 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 603 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด รวม 4 อำเภอ 15 ตำบล 73 หมู่บ้าน 585 ครัวเรือน ได้แก่ ร้อยเอ็ด พื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งเขาหลวง และอำเภอเชียงขวัญ รวม 5 ตำบล 38 หมู่บ้าน อุทัยธานี พื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลานสัก และอำเภอหนองฉาง รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ระดับน้ำลดลง

ข่าวเด่น

ข่าวทั่วไทย

ข่าวที่น่าสนใจ