LIFESTYLE

โดย กองบรรณาธิการ M2F

17 พฤศจิกายน 2561 : 11:00 น.

Fitbit เปิดตัว “Fitbit Charge 3™” ฟิตเนสแทรคเกอร์ที่ฉลาดที่สุด พร้อมชวน 2 กูรูด้านการออกกำลังกายให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเองเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

เกือบทุกเสาร์อาทิตย์สิ่งที่เห็นได้ตามหน้าโซเชียล ก็คือกิจกรรมงานวิ่ง งานเดิน และการโพสต์รูปเซลฟี่กับเหรียญรางวัลของเพื่อนๆ กระแสการออกกำลังกายที่เป็นเทรนด์ของคนรักสุขภาพ ไม่ว่าจะเริ่มวิ่งเพื่อลดน้ำหนัก ลงแข่งวิ่งสะสมเหรียญ วิ่งเทรล ยังมีฟิตเนส โยคะ พิลาทิส และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่ากิจกรรมที่เราเลือกเล่นอยู่นั้นแท้จริงแล้วเราเหมาะสมกับมันหรือไม่ มีคนอีกไม่น้อยที่พอเริ่มออกกำลังไปแล้วก็รู้สึกว่าสิ่งนี้ไม่เหมาะกับเรา ทำไมเรารู้สึกเหนื่อยกว่าคนอื่น หรือทำไมถึงมีอาการบาดเจ็บหลังจากการออกกำลังทุกครั้ง ไหนใครบอกว่าออกกำลังแล้วออฟฟิตซินโดรมจะหายไป แต่มันกลับแย่ลงจนบางครั้งก็ต้องถอดใจล้มเลิกไปในที่สุด

ฟิตบิท (Fitbit) ผู้นำอุปกรณ์แวร์เอเบิลชั้นนำ เจ้าของยอดขายสะสมทั่วโลกกว่า 84 ล้านเครื่อง โดย หลุยส์ ลายย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดงานเปิดตัว ฟิตบิท ชาร์จ 3 (Fitbit Charge 3™) นวัตกรรมล่าสุดจากฟิตเนสแทรคเกอร์ในตระกูล Charge ตระกูลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ที่มาพร้อมดีไซน์ใหม่ หรูและพรีเมียมมากขึ้น หน้าจอสัมผัสแบบใหม่ที่ใหญ่ขึ้น อัดแน่นด้วยโหมดเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายมากกว่า 15 โหมด และครั้งแรกกับการใส่ว่ายน้ำเหมือนรุ่นไอออนิกและเวอร์ซ่าได้แล้ว เหมาะสำหรับทุกคนที่ใส่ใจรักสุขภาพ พร้อมเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้ทุกคนลองเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ทั้งยังตอบรับกับทุกไลฟ์สไตล์ ด้วยสายรัดข้อมือที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ให้เข้ากับทุกโอกาส พร้อมสมาร์ทฟีเจอร์ที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนครบครัน รองรับระบบการชำระเงิน ”ฟิตบิท เพย์” และอายุการใช้งานแบตเตอรีที่ยาวนานถึง 7 วัน

ฟิตบิท ชาร์จ 3 พร้อมวางจำหน่ายแล้วในราคา 6,490 บาท ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วไป เช่น บีทูเอส ร้าน.Life คิง พาวเวอร์ พาวเวอร์บาย วีมาร์ท และลาซาด้า มีจำหน่ายทั้งแบบสีดำพร้อมกรอบอะลูมีเนียมกราไฟต์ หรือสีบลูเกรย์พร้อมกรอบอะลูมิเนียมสีชมพูโรสโกลด์ อุปกรณ์เสริมราคาระหว่าง 990-1,890 บาท และรุ่น Special Edition ในราคา 6,990 บาท

งานนี้ฟิตบิทชวน 2 กูรูด้านการออกกำลังกาย “โค้ชโป้” พิชญุตม์ สีเที่ยงธรรม และเทรนเนอร์ ญ.หญิง พิมพิชญา รูปโสม มาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเองเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อตัวคุณมากที่สุด เพราะว่าบางครั้งเราอาจไม่รู้ว่ากิจกรรมที่เรากำลังเล่นอยู่นั้นอาจจะกำลังส่งผลเสียแต่ร่างกายเราอยู่ก็เป็นได้ เราจะมีวิธีเลือกกิจกรรมให้เหมาะกับสภาพร่างกายของเราอย่างไร หรือเรามีวิธีการปรับเปลี่ยนหรือตรียมตัวเองให้พร้อมกับกิจกรรมที่เราจะทำได้อย่างไรบ้าง

เริ่มด้วย โค้ชโป้-พิชญุตม์ สีเที่ยงธรรม ผู้ก่อตั้งเพจ Strong by Science และรองผู้จัดการ Startup Fitness มาให้คำแนะนำกับทุกคนที่กำลังออกกำลังช่วงนี้ว่า

“เดี๋ยวนี้คนออกกำลังกายกันมากขึ้นครับ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ จะเห็นได้จากหน้าเฟซบุ๊กของทุกๆ คนที่จะต้องมีคนโพสต์เกี่ยวกับการออกกำลังกายมากขึ้น และกีฬาที่เห็นได้ชัดว่ากำลังฮอตฮิตอยู่ตอนนี้ก็คือ กีฬาวิ่ง เดี๋ยวนี้มีงานวิ่งทุกวันเสาร์-อาทิตย์เลย เมื่อก่อนจะมีจัดแค่เช้าวันอาทิตย์เท่านั้น เดี๋ยวนี้มีทั้งเสาร์และอาทิตย์ วิ่งกันทั้งเช้า กลางวัน กลางคืนกันเลยทีเดียว และยังเห็นได้อีกว่าคนเราพัฒนาศักยภาพการวิ่งไปได้ไกลมาก จนมีกิจกรรมการวิ่งที่ระยะมากกว่ามาราธอนอย่างงานวิ่งประเภท Ultra Running ที่จะแข่งขันกันไปถึง 100 กิโลเมตรเลยทีเดียว เป็นเรื่องที่ดีครับ ที่มีคนสนใจออกมาออกกำลังกันมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นผู้เข้าแข่งขันได้รับบาดเจ็บ หรือบางรายมีการสูญเสียในขณะการแข่งขันก็มี กีฬาวิ่งเป็นกีฬาประเภท High-Impact นั่นคือร่างกายจะได้แรงกระแทก แรงกดตามข้อต่าง ๆ ค่อนข้างมาก การวิ่งออกกำลังเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเผาผลาญพลังงานในปริมาณที่มาก หรือเน้นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับคนที่อายุยังน้อย ยังอยู่ในวัยที่กำลังเติบโต ใช้พลังงานได้เยอะ อย่างเช่นน้อง ๆ เด็กนักเรียนไปจนถึงวัยทำงานก่อนอายุ 40 แต่ไม่ได้หมายความว่าอายุเกิน 40 แล้วจะออกกำลังแบบ High-Impact ไม่ได้ แต่เราต้องมีความรู้ความเข้าใจในสภาพร่างกายของตนเองให้ดี เมื่ออายุเยอะขึ้นแล้ว การเตรียมตัวให้พร้อมทั้งก่อนและหลังการออกกำลังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรใช้เวลาวอร์มอัพร่างกายให้มากขึ้น ยึดกล้ามเนื้อให้สม่ำเสมอทุกวัน ลดการทานอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่จะช่วยเป็นเครื่องบอกข้อมูลสุขภาพของเราออกมาให้เลือกใช้ เราควรพิจารณาลองหามาใช้ดูครับ อย่างน้อยสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการฝึกซ้อม หรือออกกำลังให้เราได้ แต่ท้ายที่สุดแล้วสภาพร่างกายคือเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด ว่าเราควรที่จะออกกำลังกายแบบนี้อยู่อีกหรือไม่ คนที่มีน้ำหนักตัวมาก อายุมากหรือเคยได้รับการผ่าตัดหัวเข่า ข้อต่าง ๆ แล้ว อาจจะต้องดูแลตัวเองให้ดีหากคิดว่าตัวเองจะออกไปวิ่งมาราธอน อย่างน้อยเราจะได้เข้าใจ

หลักการเต้นของหัวใจของเราได้ดีขึ้น เราต้องวิ่งให้ถูกวิธี ฝึกซ้อมให้ถูกวิธี การยึดกล้ามเนื้อและการอบอุ่นร่างกายก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการออกกำลัง โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาออฟฟิศ ซินโดรม เรื่องนี้ควรปรึกษาหาคำแนะนำจากนักกายภาพนะครับ เพราะถ้าบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อ หรือกระดูกสันหลัง ผมคิดว่าการออกกำลังกายแบบ High-Impact อาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งอาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยรวมได้ครับ การเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายแบบ Low-Impact ที่ลดการกระแทก การกดของน้ำหนักตัวน่าจะส่งผลดีมากกว่าครับ”

ด้านเทรนเนอร์ ญ.หญิง-พิมพิชญา รูปโสม ผู้ฝึกสอนที่ได้รับการรับรองจาก bungeeWORKOUTTM ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายแบบ Low-Impact ว่า

“หลายๆ คนอาจจะมองว่าการออกกำลังกายแบบ Low-Impact ไม่ค่อยใช้แรงเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า Impact นั้นในที่นี้หมายความว่าอะไร การเคลื่อนไหวที่เป็น High-impact ไม่ได้หมายถึงกีฬาที่มีการกระทบกระทั่งกันอย่างต่อยมวยหรือฟุตบอลอย่างเดียวเท่านั้น impact ในแง่ของการออกกำลังกาย (exercise terminology) หมายถึงแรงกดที่เกิดขึ้นกับกระดูกและข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า กระดูกสะโพก ข้อมือ ซึ่งกิจกรรมที่ถือว่าเป็นการออกกำลังแบบ High-Impact เช่น วิ่ง ครอสฟิต ซุมบ้า ยิมนาสติก หรือบาสเกตบอล ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่มีการใช้ร่างกายทุกส่วน การกระโดด หรือกดน้ำหนักตัวลงไปที่ข้อ หัวเข่า เยอะมาก ในทางกลับกัน การออกกำลังแบบ Low-Impact ก็มีการใช้ร่างกายทุกส่วนเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันที่เท้าของเราทั้งสองข้างแทบจะไม่ได้ลอย หรืออยู่สูงจากพื้น หรือมีการกระโดดเลย สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่าง High- และ Low-impact exercise ก็คือแรงกดที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายนั่นเอง ดังนั้นกิจกรรมแบบ Low-Impact จึงเหมาะกับคนทุกระดับสมรรถภาพร่างกาย แม้แต่คนที่มีปัญหาร่างกายก็สามารถออกกำลังกายในแบบนี้ ได้ กลุ่มคนที่ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักตัวที่มีอยู่มากเกินเกณฑ์ คนที่มีปัญหาเรื่องข้อเสื่อม หรือแม้แต่คนที่เคยมีปัญหาจากการออกแบบ High-Impact ก็สามารถมาลองเล่นดูได้ เพราะการออกกำลังประเภทนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงของการเพิ่มภาระให้กับพวกกระดูก ไขข้อต่างๆ ได้แต่ก็ยังคงระดับการเผาผลาญที่ใกล้เคียงกับกิจกรรม High- Impact กิจกรรมแบบ Low-Impact ได้แก่ การเดินเร็ว พิลาทิส กิจกรรมทำสวน โยคะ และปั่นจักรยาน เป็นต้น"

พร้อมกันนี้เทรนเนอร์ ญ.หญิง ยังได้มาแนะนำกิจกรรมการกำลังแบบ Low-Impact รูปแบบใหม่โดยใช้แรงต้านของเส้น bungee ผู้เล่นจะได้ลอยตัวสูงจากพื้น ผสานกับออกท่าออกกำลังกายแบบต่างๆ ไปตามเสียงเพลง ที่เรียกว่า “bungeeWORKOUT” รูปแบบการออกกำลังกายนี้คิดค้นโดยคนไทย โดยทำงานคู่กับนักกายภาพมืออาชีพจากยุโรปออกมาเป็น low-impact exercise โดยใช้เทคนิคถ่ายแรงกดบนข้อต่อ ไปอยู่บนเส้นบันจี้แทน แม้แต่ผู้เล่นที่มีปัญหาเข่า น้ำหนักเยอะ หรือสูงวัยก็สามารถเล่นได้ ขณะที่ยังสามารถเผาผลาญพลังงานระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง (HIIT: High-intensity interval training) พร้อมกระชับกล้ามเนื้อทั้งร่างกายในเวลาอันสั้นได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบนี้ก็เป็นอีกวิธีการออกกำลังที่ช่วยลด impact กับกระดูกและข้อต่อต่างๆ คนที่กำลังประสบปัญหาจากการออกกำลังกายสามารถลองเล่นดูได้ รวมทั้งมีกิจกรรมการออกกำลังกายแบบอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย โดยการเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้น สามารถผสมผสานได้ทั้ง low-impact และ high- impact ขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้เล่นเป็นหลัก อาทิ สมรรถภาพกล้ามเนื้อ มวลกระดูก อายุ ความสม่ำเสมอในการออกกำลังกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และการนอนหลับพักผ่อน ไม่มีใครรู้ได้ว่า เราควรจะต้องออกกำลังแบบไหน ไม่มีใครรู้จักร่างกายของเราได้ดีกว่าตัวเราเอง การที่มีอุปกรณ์เข้ามาเป็นตัวช่วยชี้วัด เก็บข้อมูลสุขภาพของเรา ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยผลักดันให้เราสนใจสุขภาพร่างกายเรามากขึ้น เข้าใจประเภทการออกกำลังและเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราได้ในที่สุด

กองบรรณาธิการ M2F

ENTERTAIN

อ่านก่อนเลือกเงินกู้ออนไลน์ เลือกผิด ชีวิตพังแน่!

ในวันที่เศรษฐกิจถดถอยนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ทำให้หลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินและสถานการณ์ชักหน้าไม่ถึงหลัง

แนะนำเครื่องกรองน้ำระบบฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ อัปเดต 2022

เราทุกคนรู้กันดีว่าการดื่มน้ำนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ดื่มน้ำสะอาดในทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ และดีต่อสุขภาพ

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย

เปิดม่านการแสดง! เวทีการแข่งขันศิลปะการเต้นมาตรฐานสากลครั้งยิ่งใหญ่ของไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

ข่าวที่น่าสนใจ