BKK NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

20 มีนาคม 2565 : 14:37 น.

ดร.เอ้ สุชัชวีร์ลงพื้นที่บางกะปิ พบเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมซ้ำซากชี้ต้องรักษาแก้มลิงธรรมชาติและมีประตูระบายอัตโนมัติใช้คลองช่วยระบายน้ำ ย้ำเจอปัญหาหนักกว่าที่คิดแต่แก้ได้ตามนโยบายที่วางไว้

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นางนฤมล รัตนาภิบาล ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางกะปิ ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อไปดูปัญหาที่เขตบางกะปิ โดยกล่าวว่า เขตบางกะปิถือเป็นเขตที่มีตลาดเช้าไปจนถึงตลาดค่ำที่น่าสนใจ อีกทั้งย่านรามคำแหงเป็นพื้นที่ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ในอดีตเป็นพื้นที่ทำนา ทำสวน มีการใช้น้ำบาดาลกันมาก ปัจจุบันเมื่อฝนตกลงมาก็ทำให้พื้นที่ดังกล่าวจมน้ำทันที ดังนั้นการจะแก้ปัญหาในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกได้ จำเป็นจะต้องพยายามรักษาแก้มลิงตามธรรมชาติไว้ แต่การจะรักษาไร่นาสำหรับเก็บน้ำนั้นกระทำได้ยาก แต่ยังมีพื้นที่บริเวณคลองจั่นไปจนถึงคลองแสนแสบ และมีคลองลำพังพวยที่วันนี้น้ำเริ่มนิ่งเพราะประตูระบายน้ำปิด ทำให้ยุงวางไข่กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เริ่มมีก๊าซผุดซึ่งเป็นสัญญาณน้ำเน่าเสีย หากมีประตูระบายน้ำอัตโนมัติ คลองดังกล่าวจะสามารถทำหน้าที่ช่วยระบายน้ำ ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติได้ และบริเวณริมคลองสามารถพัฒนาให้มีทางเดินออกกำลังกาย หรือทำเป็นทางขี่จักรยานได้อีกด้วย

ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า เมื่อ กทม. คิดไม่ครบ ทำไม่จบ จึงทำให้บริเวณริมคลองลำพังพวยหลังจากมีการลงเสาเข็มสร้างเขื่อนกันตลิ่งที่แข็งแรงแต่สูญเสียพื้นที่ใช้สอยริมคลองไปอย่างน่าเสียดาย กรุงเทพฯ มีพื้นที่น้อยอยู่แล้ว เมื่อจะทำทั้งที ต้องคิดให้ครบ ทำให้จบ หากตนมีโอกาสเป็นผู้ว่าฯ จะทำให้พี่น้องประชาชนได้เดินได้วิ่งได้ออกกำลังกายอย่างแน่นอน

ขณะที่ เมืื่วานนี้ ศ.ดร.สุชัชวีร์ ไปดูปัญหาที่เขตตลิ่งชัน พร้อมกับ น.ส.ฉัฐภรณ์ ปานทอง ผู้สมัคร ส.ก.เขตตลิ่งชัน พบปัญหาน้ำในคลองฝั่งธนเน่าเสีย เพราะระบบประตูระบายน้ำต้องพึ่งพาแรงงานคน เมื่อไม่ได้รับการสั่งการ และไม่มีระบบติดตามระดับน้ำ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปิดประตูระบายน้ำไว้ก่อน ด้วยเหตุนี้น้ำดีจึงไหลเข้ามาไล่น้ำเสีย ในคลองออกไปไม่ได้

ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า การที่ระบบระบายน้ำยังต้องพึ่งพาแรงงานคน จะทำให้ กทม. ให้เจ้าหน้าที่สำนักระบายน้ำต้องปะทะกับชาวบ้านริมคลอง ขณะที่ในต่างประเทศใช้เทคโนโลยีเข้าจัดการปัญหาเหล่านี้ ดังนั้นการที่จะให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวัสดิการที่ทันสมัยได้ จึงต้องนำความทันสมัยเข้ามาดูแลพี่น้องประชาชน ระบบเปิด-ปิดประตูน้ำ ระบบเปิด-ปิดเครื่องสูบน้ำด้วยระบบคอมพิวเตอร์สามารถจัดการปัญหาได้อย่างแม่นยำ ให้บุคลากรทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาระบบ แทนที่จะต้องมาปะทะกับพี่น้องประชาชนริมคลอง จึงเป็นวิธีจัดการปัญหาน้ำเน่าเสีย และป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้

“ผมรู้ว่าเปลี่ยนกรุงเทพฯ ทำได้จริงๆ แล้วประหยัดด้วย คนที่อยู่ริมคลองไม่เดือดร้อน น้ำมีการหมุนเวียน ป้องกันน้ำท่วมได้ เจ้าหน้าที่ กทม. ก็ไม่ต้องมาเป็นจำเลย ไม่ต้องให้คนชนคน ผมพูดจริงๆ ว่ามันทำได้ และมันควรจะต้องทำ"ดร.สุชัชวีร์กล่าว

ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ตนจะลงพื้นที่ครบ 50 เขตแล้ว โดยมีแผนจะลงพื้นที่เขตลาดกระบังเป็นเขตปิดท้าย ได้เห็นสภาพปัญหาของกรุงเทพฯ พบว่าหนักกว่าที่คิด แต่นโยบายที่วางเอาไว้ก็พิสูจน์แล้วเช่นกันว่าสามารถทำได้จริง และต้องทำทันที ซึ่งการแก้ปัญหานั้นไม่สามารถทำได้โดยลำพัง ตนมีทีมงาน ส.ก. ทั้ง 50 เขต ที่มีความมุ่งมั่นแก้ปัญหา ทำงานเกาะติดใกล้ชิดในพื้นที่มานาน สามารถเป็นกระบอกเสียงได้ ทำให้ผู้รับผิดชอบสามารถเข้าแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ