MONEY

โดย กองบรรณาธิการ M2F

16 พฤศจิกายน 2564 : 14:08 น.

แอพเงินกู้ออนไลน์ระบาดหนัก พบผู้เสียหาย 2 หมื่นรายมูลค่ากว่าพันล้านบาท เลขาฯรมว.ยธ.ส่งดีเอสไอ-ปปง.ตรวจสอบ

น.ส.จุฑาทิพ จูพัฒนกุล แกนนำกลุ่มผู้เสียหาย นำประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากนายทุนนอกระบบปล่อยเงินกู้ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ และเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจากการกู้ยืมเงินยื่นหนังสือร้องขอความช่วยเหลือจากกระทรวงยุติธรรม โดยมีว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รับเรื่องจากผู้เสียหาย โดยมีเหยื่อที่ถูกหลอกกว่า 20,000 คน

ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต กล่าวว่า ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมามีชาวบ้านทั่วประเทศต้องการแหล่งเงินทุนจึงเข้าไปใช้บริการแอพฯเงินกู้ โดยพฤติการณ์ของแอพฯหลอกลวง 3 รูปแบบ คือ

1.แจ้งว่ากู้เงิน 1หมื่นบาทโดยให้ผู้กู้โอนให้ก่อน 2,000บาทแล้วจึงจะโอนเงินกลับคืนให้ แต่เมื่อโอนไปให้กลับถูกปิดบัญชีและหลอกเอาเงินไป

2.ขอกู้ 4,000 บาท ผู้กู้จะถูกหักเงิน 1,200 บาท ได้จริงแค่ 1,800 บาท ซึ่งเป็นการเรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินกฎหมายกำหนด

3. กู้แล้วไม่ชำระเงินตามเวลากำหนด ก็จะหาเรื่องมาโพสประจาน ทำให้คนในครอบครัว เสียหายหวาดกลัว

"การกระทำดังกล่าวของพวกแอพฯเงินกู้ มีความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ ทั้งการจัดตั้งสถาบันการเงินที่ไม่ได้รับอนุ ญาต ,ฉ้อโกงประชาชน ,ขู่กรรโชกทรัพย์ ,นำเช้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หลังจากนี้ดีเอสไอจะรวบรวมผู้เสีย หายที่ร้องทุกข์ ไว้กับส.น. แต่ละท้องที่ และประสานปปง. ยึดอายัดทรัพย์ของแก้งค์เงินกู้ออนไลน์"ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต กล่าว

เลขานุการฯรมว.ยธ.กล่าวอีกว่า ภายในสัปดาห์นี้ตนจะประสานปปง.ให้ช่วยตรวจสอบและยึดอายัดบัญชีของแอพฯกู้เงินและให้ดีเอสไอเปิดเพจ รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้ตกเป็นเหยื่อซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีอยู่ทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีกว่า 300 แอพฯที่หลอกลวง ด้วยการให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพียงแค่คลิกกดยอมรับก็จะมีเงินโอนเข้า จากนั้นเรียกเก็บหนี้บวกดอกเบี้ยอัตราเกินกว่ากฎหมายกำหนด และหากใครไม่จ่ายก็ดึงข้อมูลภาพครอบครัว และคนใกล้ชิด โทรหรือออกมาคุกคามข่มขู่

ขณะที่ น.ส.จุฑาทิพ แกนนำผู้เสียหาย กล่าวว่า สำหรับมูลค่าความเสียหายเท่าที่รวบรวมในขณะนี้มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท บางรายมีหนี้เจากแอพเงินกู้ถึง 1ล้านบาท และจากการรวบรวมข้อมูลจากผู้เสียหายปัจจุบันมีมากถึง 30แอพที่กำลังแพร่ระบาดและพบว่าจำนวนผู้ถูกหลอกเพิ่มมากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการจับกุมเจ้าของแอพเงินกู้แต่โทษมีแค่ยึดทรัพย์และภาคทัณฑ์ ทำให้กลุ่มแอพเงินกู้ มีชยายขบวนการเปลี่ยนชื่อ หลอกลวงเพิ่มอีก นอกจากนี้ยังพบอีกว่า นายทุนแอพฯเงินกู้ส่วนใหญ่ มีทั้งชาวจีน มาเลเซีย และพม่า

หนึ่งในผู้เสียหาย กล่าวว่า ได้ติดตั้งแอพฯเงินกู้ผ่านหน้าเฟสบุ๊ค เมื่อกดรับเข้ามาแอพฯก็จะเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือทั้งหมด ยอมรับว่าครั้งแรกได้กู้เงินฯจากแอพฯเงินกู้จำนวนเงิน 8,000 บาทจากนั้นก็มีจะมีแอพฯเงินกู้อื่นๆลิงค์พ่วงเข้ามาให้กู้เพิ่ม ตนจึงกดรับเพื่อกู้เงินต่ออีก 3 แอพฯรวมเป็นเงิน 35,000-40,000 บาท และกดรับลิงค์แอพกู้เงินอื่นๆอีก ครั้งละ 1,000 หรือ2,000 บาท รวมยอดเงินที่กู้ผ่านแอพฯเงินกู้ 17 แอพฯประมาณ 300,000 บาท แต่ตนได้รับยอดเงินจริงจากแอพฯหลอกกู้เงินเพียง 100,000 บาทเท่านั้น

“เขาโทรมาทวงทุกวัน คนทวงยังพูดภาษาไทยไม่ชัดเลย มีทั้งโทรไลน์ คุยไลน์ ยอดเงินมันสูงเพราะเขาคิดดอกเบี้ยสูงมาก เช่น เรากู้เงินเขามาจริงๆ 5,000 บาท แต่ได้รัลเงินจริง 3,500 บาท ช่วงนั้นตลาดปิด ค้าขายไม่ได้ เราต้องใช้เงินก็เลยเข้าไปใช้บริการ เมื่อเช้าพวกแอพฯเขาก็โทรฯเข้าไปทวงเงินกับแฟน ซี่งแฟนไม่รู้เรื่องด้วย เดือดร้อนมากจึงอยากให้กระทรวงยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือ”ผู้เสียหายระบุ

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ