THAI NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

26 มีนาคม 2563 : 17:33 น.

หวั่นลูกจ้างสับสนมาตรการเยียวยาจากพิษโควิด-19 บอร์ดประกันสังคมแนะลงรายละเอียด-เร่งทำความเข้าใจให้ทันความเดือดร้อน เผยพนักงานบริการ 3 แสนรายยังเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 26 มี.ค.น.ส.อรุณี ศรีโต ผู้นำแรงงานและ 1 ในคณะกรรมการประกันสังคม เปิดเผยถึงมาตรการต่างๆของรัฐในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า มีลูกจ้างจำนวนมากสอบถามเนื่องจากแต่ละมาตรการค่อนข้างซับซ้อน เพราะไม่ได้มีสิทธิทุกคน บางคนถามว่าขายของจะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ และผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ มาตรา 40 ต้องไปรับเงินเยียวยากับกระทรวงการคลังจะมีสิทธิหรือไม่

ทั้งนี้ ถ้ามีคนได้บ้างไม่ได้บ้างก็จะเป็นปัญหา มันมีประเด็นปลีกย่อยมาก จริงๆแล้วสถานการณ์แบบนี้รัฐต้องใจกว้างในเมื่อจะให้ก็ต้องให้จริงๆ ไม่ใช่ตั้งเกณฑ์มากีดกันคนบางกลุ่ม จะมีผลกระทบในวงกว้าง คนต้องหากินทุกวัน แต่ตอนนี้หากินไม่ได้แล้ว ถ้าไม่มีมาตการชดเชย อย่าว่าให้ถึง 6 เดือนเลย เพียงแค่เดือนเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว ต้องเช่าบ้าน ทำอย่างไรรัฐจะไปต่อรองกับเจ้าของบ้านให้พักเก็บค่าเช่าบ้างได้หรือไม่ ชาวบ้านเจรจาต่อรองเองไม่ได้” น.ส.อรุณี กล่าว

ผู้นำแรงงาน กล่าวว่า ยังมีลูกจ้างเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อพักงานหรือตกงานจากพิษโควิด-19 แล้วจะได้เงินเยียวยาครึ่งหนึ่งของเงินเดือน แท้จริงแล้วได้รับครึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งขณะนี้เพดานการจ่ายเงินสมทบสูงสุดอยู่ที่ 1.5 หมื่นบาท หรือจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาท หากรับค่าเยียวยาก็จะได้ 7,500 บาท ถ้าได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทก็จะได้เพียง 150 บาท ซึ่งไม่พอค่าเช่าและค่ากินอยู่ในครอบครัว

“ตอนนี้ลูกจ้างอพยพกลับต่างจังหวัดกันไปเกือบหมดแล้วได้คุยกับวินจยย.รับจ้างเขาบอกว่าอยู่ก็อดตาย ขอกลับไปตายบ้านดีกว่า การออกนโยบายใดๆ ต้องไปปลดล็อคในหลายเรื่อง เช่น คนขับแท็กซี่ต้องผ่อนรถเดือนละ 1 หมื่น รัฐต้องคุยกับไฟแนนซ์ให้เขาด้วยว่าช่วงนี้พักชำระหนี้ไปก่อนได้หรือไม่ อย่างเรื่องค่าเช่าบ้าน ต้องสำรวจว่า มีใครเช่าบ้านอยู่บ้าง ตอนนี้เก็บค่าเช่าครึ่งเดียวได้หรือไม่ เพื่อให้คนอยู่ในที่เดิม ที่สำคัญอย่าให้ล่าช้าเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่ทันกับความเดือนร้อนของคนจน จำเป็นต้องสนับสนุนเรื่องอาหารหรือไม่ สามารถซื้อข้าวสารครึ่งราคามีหรือไม่”น.ส.อรุณี กล่าว

ด้านน.ส.ไหม จันทร์ตา ตัวแทนพนักงานบริการ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนพนักงานบริการทั่วประเทศราว 3 แสนคน มาตรการที่รัฐบาลออกมานั้น ช่วยเหลือคนที่มีสัญชาติไทยรายละ 5 พันบาท และผู้ประกันตน 50% แต่พนักงานบริการส่วนมากไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เพราะเจ้าของธุรกิจบันเทิงมักไม่ได้ทำประกันสังคมให้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ ดังนั้นจึงเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือใดๆ และที่ผ่านมากฎหมายมักเน้นแต่เอาผิด แต่ไม่ได้คุ้มครอง หน่วยงานรัฐจึงปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด

“ตอนนี้ทุกคนเครียดมาก เพราะไม่รู้จะได้กลับมมาทำงานเมื่อไร และเงินออมที่มีอยู่ใกล้หมดแล้ว พวกเราต้องผ่อนบ้านผ่อนรถมีภาระเยอะมาก ที่ทำมาหากินเก็บออมได้ทั้งหมดอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แค่เดือนเดียวก็เครียดแย่แล้ว ทั้งๆที่พวกเราเป็นคนกลุ่มแรกๆที่ได้รับผลกระทบ เพราะรัฐปิดสถานบันเทิงและสถานบริการตั้งแต่ต้น แต่พวกเรากลับไม่ได้รับเงินเยียวยาใดๆ”น.ส.ไหมกล่าว

ด้าน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ มีสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือเยียวยา 50% เช่นเดียวกับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทย ทั้งในกรณีที่ถูกกักตัวและสถานประกอบการของนายจ้างปิดกิจการ เนื่องจากคำสั่งของรัฐบาล โดยนายจ้างจะต้องแจ้งรายชื่อลูกจ้างมายัง สปส.ซึ่งมีรายชื่ออยู่แล้ว และตามขั้นตอนต้องให้กรอกข้อมูลด้วยหากลูกจ้างแรงงานข้ามชาติไม่สามารถทำได้ก็ให้นายจ้างเป็นผู้กรอกบข้อมูลให้แทน ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ 1.2 ล้านคน

ข่าวเด่น

ข่าวทั่วไทย

ข่าวที่น่าสนใจ