WORLD NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

21 พฤศจิกายน 2562 : 20:12 น.

.

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีประวัติศาสตร์ยาวนานในประเทศไทย เริ่มจากการเผยแพร่ของชาวโปรตุเกสในสมัยอยุธยาโดยได้รับพระบรมราชานุญาติจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และมีผู้หันมานับถือศาสนานี้พอสมควร โดยเฉพาะคนเชื้อชาติต่างๆ ที่มาตั้งถิ่นฐานในกนุงศรีอยุธยา โดยผู้ที่นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจะเรียกว่า "คริสตัง" ในประวัติศาสตร์ของไทยมีบุคคลสำคัญของชาติหลายท่านที่เป็นชาวคริสคริสตัง

ผู้คิดค้นขนมตระกูลทอง

1.. ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) ท้าวทองกีบม้า มีชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มารี กีมาร์เกิดในครัวที่มีความเกี่ยวข้องกับนิกายคาทอลิกอย่างเหนี่ยวแน่น โดยเฉพาะฝ่ายมารดาที่เป็นคริสตังชาวญี่ปุ่นซึ่งถูกกดขี่จากนโยบายต่อต้านชาวคริสต์ในญี่ปุ่น ทำให้ต้องลี้ภัยมายังเวียดนามและสมรสกับชาวญี่ปุ่นตระกูลโอโตโมะ ซึ่งเป็นชนชั้นเจ้าเมือง (ไดเมียว) ที่เป็นชาวคริสตังเหมือนกัน มารี กีมาร์เคร่งครัดในนิกายคาทอลิกมาก จนเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ เปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามเธอเพื่อที่จะแต่งงานด้วย และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและขุนนางผู้ใหญ่ ยังเข้าร่วมงานมงคลสมรสของทั้งสองคนด้วยท้าวทองกีบม้าได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

นักแม่นปืนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

2. พระยาวิเศษสงครามรามภักดี จางวางทหารแม่นปืนใหญ่ ชาวโปรตุเกสที่นับถือนิกายคาทอลิกเข้ามาพึ่งพระบารมีในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงรับไว้เป็นทหารอาสาโปรตุเกส และเมื่อมีการสั่งปืนใหญ่ชนิดใหม่เข้ามา โปรดเกล้าฯ ให้มีการทดลองยิงปืนใหญ่ดังกล่าวที่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา โดยผู้ทดลองคือทหารอาสาแขก ทหารอาสาจีน และทหารอาสาโปรตุเกส ปรากฎว่าอาสากรมโปรตุเกสยิงไม่พลาดเป้าเลย รัชกาลที่ 1 ทรงแปลกพระทัยจึงเรียกตัวทหารอาสา คือนายแก้ว นามสกุลลีเบยโร (Libeiro) มาเข้าเฝ้า และกราบทูลว่าที่ยิงแม่น เพราะคำนวณระยะยิงตามสูตรที่ได้ร่ำเรียนและสืบทอดกันมาในหมู่ชาวโปรตุเกส จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมทหารอาสาโปรตุเกสขึ้นมาเป็นกองทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่หน้า และโปรดเกล้าฯ ตั้งนายแก้ว ลีเบยโร เป็นที่จางวางเจ้ากรมทหารฝั่งแม่นปืนใหญ่หน้า นายแก้วนั้นต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าค่ายโปรตุเกสพระยาวิเศษสงครามรามภักดี และลูกหลานได้สืบทอดราชทินนาม "พระยาวิเศษสงครามรามภักดี" มาตามลำดับ และท่านยังเป็นต้นตระกูลของสกุลวิเศษรัตน์ และวงศ์ภักดี

ภาพขุนนางชาวสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในหนังสือของ Simon de la Loubère

ผู้นำชาวญวนที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

3. พระยาบรรลือสิงหนาท คือหัวหน้าชาวญวนสามเสนที่นับถือนิกายคาทอลิก กรุงเทพมหานคร ดูแลและตัดสินเรื่องขัดแย้งในชุมชนชาวคาทอลิกที่เป็นชาวญวนหรือเวียดนามที่อพยพหนีการกวาดล้างทางศาสนาในประเทศมาพึ่งพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ชาวญวนเหล่านี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณของพระมหาษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เรื่อยมา พระยาบรรลือสิงหนาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นเจ้ากรมทหารฝรั่งแม่นปืนหลัง ซึ่งเป็นกรมทหารที่ใช้ปืนแบบตะวันตก และเป็นทหารปืนใหญ่ในสังกัดของพระราชวังบวร หรือวังหน้า โดยชาวญวนคาทอลิกทั้งหมดให้เข้ารับราชการในกรมกองนี้

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กับเด็กคาทอลิกชาวไทยและชาวญวน

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กับเด็กคาทอลิกชาวไทยและชาวญวน

ผู้นำพจนานุกรมภาษาไทย-ฝรั่งเศส

4. พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ หรือฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวซ์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านมีคุณูปการต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และภาษาไทยมาก โดยแต่งหนังสือ "สัพะ พะจะนะ พาสา ไท" ซึ่งเป็นพจนานุกรมสี่ภาษา คือไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส และลาติน หนังสือ "ศริพจน์ภาษาไทย" พจะนานุกรมไทย-ฝรั่งเศส และหนังสือ Grammatica linguoe Thai หรือไวยากรณ์ภาษาไทยในภาษลาติน รวมถึงแต่งหนังสือบรรยายเรื่องกรุงสยามเป็นภาษาฝรั่งเศส คือ Description du Royaume Thai ou Siam ท่านได้เรียนภาษาไทยและภาษาบาลี และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชมพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นอันมาก มักจะทรงแลกเปลี่ยนความรู้อยู่บ่อยๆ เมื่อมรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสง่างามที่สุด โดยพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนเรือบรรทุกหีบศพ

ภาพจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพันเอกพระยาศรีวิสารวาจา

ภาพจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพันเอกพระยาศรีวิสารวาจา

แพทย์หญิงคนแรกของไทย

5. มากาเร็ต ลิน เซเวียร์ บุตรีของพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน ซาเวียร์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 มากาเร็ตเป็นแพทย์หญิงชาวไทยคนแรกที่ได้ปริญญาแพทยศาสตร์จาก London School of Medicine for Women และที่โรงพยาบาล Royal Free ตามลำดับ มากาเร็ตทำงานที่แผนกความผาสุกของเด็กและทารก ในกองกลางหน่วยที่ 1 สภากาชาดไทย รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ประจำสุขศาลาบางรัก หมอลินในวัย 26 ปี ได้รับอนุญาตจากสภากาชาดไทยให้ประกอบโรคศิลป์โดยกิจการส่วนตัวได้ จึงเป็นแพทย์หญิงคนแรกที่เปิดคลินิกได้ โดยมีคลินิกที่ชื่อ อุณากรรณ ตั้งอยู่บนถนนสี่พระยา ที่เป็นที่นิยมในหมู่สตรี ต่อมาสมรสกับพันเอกพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) มีตำแหน่งเป็นคุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา คุณหญิงลินรักษาคนไข้ในทุกชนชั้น แม้แต่โสเภณีที่ยากจนที่เธอให้การรักษาโดยไม่คิดค่าตอบแทน แม้หมอลินจะอยู่ในช่วงให้นมบุตร ก็ยังคงทำงานไปด้วยและให้นมบุตรด้วยตนเอง แต่น่าเสียดายที่คุณหญิงคุณหมอป่วยหนักด้วยโรคมันสมองอักเสบรวมถึงไข้หวัดใหญ่เข้าแทรก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ด้วยวัย 34 ปี

อ้างอิงกรมทหารปืนใหญ่แม่นปืน และ เรื่องที่น่าสนใจอื่น ๆhttp://www.reurnthai.com/index.php?topic=4762.0

กลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนบ้านญวณhttp://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/bkk/bkk362.html

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์)https://th.wikipedia.org/wiki/ท้าวทองกีบม้า_(มารี_กีมาร์)

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ