NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

15 กุมภาพันธ์ 2564 : 19:36 น.

.

ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่กรุงเทพฯ 1,560 ตารางกิโลเมตร จะยังมีการทำนาอยู่กว่า 187,000 ไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ตะวันออก ได้แก่ คลองสามวา หนองจอก และลาดกระบัง แต่ในระยะ 30 กว่าปีมานี้ คลองสายต่างๆ ในพื้นที่ตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งน้ำในการทำเกษตรกรรมไม่ได้รับการดูแลหรือขุดลอกคลองเลย ซึ่งผมกังวลว่าพี่น้องเกษตรกรจะได้รับผลกระทบจนไร่นาเสียหาย กทม.จึงต้องหาวิธีนำน้ำมาช่วยพยุงให้ไร่นาสามารถผ่านวิกฤติขาดแคลนน้ำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งไปให้ได้ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ของพี่น้องเกษตรกรครับ

สำหรับพื้นที่เขตหนองจอกนั้น เมื่อปี 2563 กทม.ได้ดำเนินการขุดลอกคลองในพื้นที่เขตหนองจอกทั้งหมด 95 คลอง โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลและกรุงเทพมหานครดำเนินการ ซึ่งแล้วเสร็จทั้งหมดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 เพื่อช่วยให้การระบายน้ำในช่วงฤดูฝนหน้าและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้งดีขึ้น นอกจากนี้ กทม.ยังมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่เขตหนองจอกที่ประสบภัยแล้ง โดยจะก่อสร้างทำนบกั้นน้ำแบบถาวรในคลองสาขา 17 แห่ง ปรับปรุงทำนบเดิม 5 แห่ง และปรับปรุงประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอขอจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลครับ

แต่ในฤดูแล้งนี้ ก็ยังมีพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ โดยพบว่า คลองย่อยหรือคลองสาขาบางแห่งมีระดับสูงกว่าคลองสายหลัก ทำให้น้ำในคลองสายหลักไม่สามารถไหลส่งไปยังคลองย่อยเพื่อเข้าสู่พื้นที่ทำนาได้ กทม.จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนและเฉพาะจุดไปก่อน โดยการขุดลอกคลองเพื่อสูบน้ำเข้าคลองสาขา และจัดสร้างทำนบชั่วคราว เช่น พื้นที่เกษตรเขตคลองสามวานั้น พบว่าคลองสี่ตะวันออก ความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร ประสบปัญหาน้ำในคลองแปดและคลองเก้าไม่สามารถไหลเข้าคลองสี่ตะวันออกได้ ทำให้ชาวนาขาดแคลนน้ำในการทำนา กทม.จึงได้นำเครื่องจักรไปช่วยขุดลอกคลองให้ลึกขึ้นเพื่อให้น้ำจากคลองแปดสามารถไหลเข้ามาในคลองสี่ตะวันออกได้

ส่วนพื้นที่เขตลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่สุดเขตกรุงเทพมหานคร รับน้ำจากคลองชลประทานพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ผ่านคลองสายหลักคือ คลองลำปลาทิว แต่เนื่องจากคลองดังกล่าวมีระดับต่ำกว่าพื้นที่ตอนเหนือของเขตลาดกระบัง ทำให้น้ำไม่สามารถไหลเข้าคลองซอยซึ่งทำนาข้าวได้เช่นกัน กทม.ได้ทำการขุดลอกคลองซอย คือ คลองลำพะอง กระทุ้มล้มและคลองลำตาอิน รวมความยาว 2 คลองประมาณ 6.5 กิโลเมตร เพื่อให้มีน้ำทำนาได้ คาดว่าจะขุดแล้วเสร็จในเดือนก.พ.นี้

อีกหนึ่งจุดที่มีปัญหา คือ บริเวณคลองตาสอน ความยาวประมาณ 3.15 กิโลเมตร บริเวณนี้มีความจำเป็นต้องสร้างทำนบชั่วคราวเพื่อสูบน้ำจากคลองประเวศบุรีรยม์เข้าไปในคลองตาสอน เพื่อให้สามารถทำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะ 1-2 เดือนนี้เช่นกัน

ขณะที่พื้นที่เขตหนองจอก มีการซ่อมแซมและปรับปรุงทำนบชั่วคราว จำนวน 7 จุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากสถานการณ์ภัยแล้ง ได้แก่ บริเวณคลองลำหินฝั่งเหนือ คลองหวังโต คลองบึงแตงโม คลองบึงเขมร คลองไผ่ดำ คลองลำตามีร้องไห้ คลองลำต้อยติ่ง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทำนาต่อไป

นอกจากการขุดลอกคลองและจัดสร้างทำนบชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนแล้ว กทม.ได้ทำความเข้าใจและขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกร งดการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต พร้อมทั้งให้สำนักงานเขตพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่แนะนำการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ส่วนในระยะยาวจะมีการก่อสร้างทำนบถาวรเพื่อใช้ระบายน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งต่อไปครับ

กองบรรณาธิการ M2F

ข่าวเด่น

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

The 1 Insight เผยกลยุทธ์มัดใจ Silver Spenders วัยเก๋าพร้อมเปย์ ชี้ทางรอดแบรนด์ยุค Complete Aged Society พร้อมเทรนด์เด่น Self-Indulgence & Health Enthusiast

LH Bank สนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

นายฉี ชิง-ฟู่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) (LH Bank) (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนามให้การสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 1,950 ล้านบาท แก่กลุ่มบริษัท ที ที เอส พลาสติก

ข่าวที่น่าสนใจ